สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 พฤษภาคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,221 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,739 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.78
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,900 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,659 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.78
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,990 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 32,100 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.77
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,550 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 999 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,939 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 940 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,254 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.28 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,685 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 467 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,865 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 461 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,818 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 47 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 479 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,273 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 473 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,230 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.9729 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2565 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวจำนวน 384,594.907 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 7.16 เมื่อเทียบกับจำนวน 414,243.005 ตัน ในเดือนมีนาคม 2565 และลดลงประมาณร้อยละ 52.22 เมื่อเทียบกับจำนวน 804,996.53 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-เมษายน 2565) ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าว ประมาณ 1.189 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47.77 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำนักอุตสาหกรรมพืช (BPI) รายงานข้อมูลการนําเข้าข้าวล่าสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 12 พฤษภาคม 2565 มีจำนวนประมาณ 1.289 ล้านตัน โดยมีผู้ยื่นขออนุญาตนําเข้าข้าวทั้งที่เป็นผู้ค้าข้าว และบริษัทต่างๆ รวม 113 ราย โดยใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืช (sanitary and phytosanitary import clearances: SPICS) จำนวน 1,590 ใบ
ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 12 พฤษภาคม 2565 แหล่งนําเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา จีน อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เมียนมาร์ ปากีสถาน สิงคโปร์ สเปน ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม โดยฟิลิปปินส์นําเข้าจากเวียดนามมากที่สุด จำนวน 1.008 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 84.8 ของการนําเข้าข้าวทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ เมียนมาร์ จำนวน 120,859.28 ตัน ปากีสถาน จำนวน 75,930.675 ตัน และไทย จำนวน 74,593.125 ตัน
สำหรับเอกชนผู้นําเข้าข้าวรายใหญ่ ประกอบด้วย บริษัท Bestow Industries Inc. มีปริมาณนําเข้า 80,115 ตัน รองลงมา คือ บริษัท Macman Rice and Corn Trading มีปริมาณนําเข้า 63,200 ตัน
ที่ผ่านมา Business Mirror รายงานว่า การนําเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นในปีนี้เกิดจากการที่ผู้นําเข้าข้าวได้เร่งนําเข้าข้าวเพื่อสํารองไว้ท่ามกลางความคาดหวังว่าอุปทานข้าวจะตึงตัวและผลผลิตในประเทศที่ลดลง เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตที่พุ่งสูงขึ้นตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ขณะที่ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมข้าว ระบุว่า ฤดูกาลเลือกตั้งทั่วประเทศ
มีส่วนทำให้ความต้องการนําเข้าข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการบริโภคข้าวราคาต่ำเพิ่มขึ้น (low-cost rice) เนื่องจากการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งทำให้เกิดความต้องการข้าวราคาต่ำโดยเฉพาะจากเมียนมาร์
Manila Bulletin รายงานว่า ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 รัฐบาลฟิลิปปินส์สามารถจัดเก็บภาษีนําเข้าข้าวจำนวน 46 พันล้านเปโซ (ประมาณ 878.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งรัฐบาลได้เก็บภาษีนําเข้าข้าวเพื่อนํางบประมาณ
ไปสนับสนุนภาคการผลิตข้าวของประเทศผ่านกองทุนส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของข้าว (the Rice Competitiveness Enhancement Fund; RCEF) ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอัตราภาษีข้าว (the Rice Tariffication Law; RTL) ซึ่งตามกฎหมาย รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ที่ 10 พันล้านเปโซต่อปี (ประมาณ 196
ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนทางการเงินในโครงการสนับสนุนชาวนา เช่น การช่วยเหลือทางการเงินแก่ชาวนา การไถพรวนพื้นที่เกษตร การขยายความคุ้มครองการประกันพืชผล และการส่งเสริมความหลากหลายทางพืชผล
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Philippine Statistics Agency; PSA) รายงานว่า สต็อกข้าว ณ วันที่ 1 มีนาคม 2565 มีจำนวนประมาณ 1.63251 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอสำหรับบริโภคประมาณ 51 วัน (คํานวณจากความต้องการบริโภควันละประมาณ 32,000 ตัน) น้อยกว่าระดับที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 90 วัน โดยปริมาณสต็อกข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.60925 ล้านตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 แต่ลดลงร้อยละ 21.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 2.0801 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2564
ทั้งนี้ สต็อกในคลังขององค์การอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority; NFA) มีจำนวนประมาณ 0.15626 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 41.1 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.26532 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 9.6 ของสต็อกข้าวทั้งหมด และเพียงพอสำหรับการบริโภคประมาณ 5 วัน) โดยสต็อกข้าวของ NFA ลดลงประมาณร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.18123 ล้านตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565
ขณะที่สต็อกในคลังของเอกชน (Commercial warehouses) มีจำนวนประมาณ 0.61133 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.58466 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 37.4 ของสต็อกข้าวทั้งหมด และเพียงพอสำหรับการบริโภคประมาณ 19 วัน) และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.54527 ล้านตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ส่วนสต็อกในภาคครัวเรือน (Household stocks) มีจำนวนประมาณ 0.86492 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 29.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.23013 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 53.0 ของสต็อกข้าวทั้งหมด และเพียงพอสำหรับการบริโภคประมาณ 27 วัน) และลดลงประมาณร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.88274 ล้านตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง เนื่องจากค่าเงินรูปีเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 77.79 รูปีต่อเหรียญสหรัฐฯ ประกอบกับรัฐบาลยังคงมีการระบายข้าวออกมาสู่ตลาดผ่านโครงการช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ระดับ 351- 356 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากระดับ 357-361 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ขณะที่วงการค้าคาดว่า การอ่อนค่าของเงินรูปีจะส่งผลให้ความต้องการข้าวจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของข้าวหักที่นําไปใช้
ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ และแปรรูปอาหาร
สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (the India Meteorological Department) ที่พยากรณ์ว่า ฤดูมรสุม (ฤดูฝน) จะเริ่มขึ้นและมีผลกระทบต่อรัฐ Kerala ในช่วงตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2565
ซึ่งเร็วกว่าเวลาปกติ 5 วัน (ตามปกติฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ของทุกปี) โดยก่อนหน้านี้กรมอุตุนิยมวิทยา (IMD) คาดการณ์ปริมาณฝนในปีนี้จะอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ยปกติ
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา (IMD) ได้กำหนดปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยหรือปกติ (average or normal rainfall)
ว่าอยู่ในช่วงร้อยละ 96 - 104 ของค่าเฉลี่ย 50 ปีที่ระดับ 87 เซ็นติเมตร (ประมาณ 35 นิ้ว) สำหรับฤดูกาลในช่วง 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน) ซึ่งฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้นในทุกปี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการเกษตรของอินเดีย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 399.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,548.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 390.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,391.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.31 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 157.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 774.00 เซนต์ (10,485.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 791.00 เซนต์ (10,814.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 329.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนพฤษภาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.294 ล้านตัน (ร้อยละ 3.73 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.51 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.52 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.40
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.35 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.27
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.97 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.45
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.95 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,030 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 291 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,090 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.69
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,900 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 516 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,870 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.16

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.699 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.306 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.775 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.320 ล้านตันของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 4.28 และร้อยละ 4.38 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 8.97 บาท ลดลงจาก กก.ละ 9.27 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.24
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 54.00 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 52.50 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.86
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียอนุญาตให้ผู้ประกอบการส่งออกน้ำมันปาล์มได้ โดยมีเงื่อนไขการอนุญาต ดังนี้ ผู้ส่งออกต้องมีใบอนุญาตการส่งออก ซึ่งจะได้รับเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข Domestic Market Obligation (DMO) โดยใบอนุญาตนี้มีอายุ 6 เดือน และผู้ส่งออกต้องมีการรายงานสินค้าที่ส่งออกไปในทุก ๆ เดือน เงื่อนไข DMO คือ ผู้ส่งออกต้องขายสินค้าบางส่วนภายในประเทศ ภายใต้ราคาที่กำหนด
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,995.49 ดอลลาร์มาเลเซีย (55.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 6,674.33 ดอลลาร์มาเลเซีย (53.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.81      
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,714.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (58.94 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,678.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (58.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.13                
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         
           Traders กล่าวว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกไม่ได้ตอบสนองมากนักต่อการส่งออกน้ำตาลของอินเดียอย่างที่คาดไว้ นอกจากนี้ความพยายามของรัฐบาลบราซิลในการหยุด Petrobras จากการขึ้นราคาเชื้อเพลิงจะกระตุ้นให้โรงงานให้ผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น ขณะที่การเก็บเกี่ยวในภาคกลาง-ใต้ของบราซิล กำลังเพิ่มขึ้น นักวิเคราะห์กล่าวเสริม อย่างไรก็ตาม มีการแย้งว่าโรงงานส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับสัดส่วนการผลิตได้มากกว่า 5% เมื่อการเก็บเกี่ยวเริ่มต้นขึ้น บางบริษัทมีภาระผูกพันในการส่งออกน้ำตาล ขณะที่บริษัทอย่าง Raizen มีภาระผูกพันในการขายเอทานอล    รัฐบาลอินเดีย ประกาศว่าการส่งออกน้ำตาลในปี 2564/2565 จะต่อยอดที่ 10 ล้านตัน และผู้ส่งออกจะต้องได้รับใบอนุญาต ณ วันที่ 1 มิถุนายน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคาดว่าน้ำตาล คงคลังจะที่ 6-6.2 ล้านตัน เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ในวันที่ 30 กันยายน คิดเป็น 2-3 เดือนของการบริโภค




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 23.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.52 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,703.92 เซนต์ (21.54 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,678.52 เซนต์ (21.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.51
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 426.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.68 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 418.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.90
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 79.92 เซนต์ (60.59 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 81.50 เซนต์ (62.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.94


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 36.49
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 883.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 874.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 705.60 ดอลลาร์สหรัฐ (23.97 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 698.00 ดอลลาร์สหรัฐ (23.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,209.20 ดอลลาร์สหรัฐ (41.08 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,196.50 ดอลลาร์สหรัฐ (41.06 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 764.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.98 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 756.75 ดอลลาร์สหรัฐ (25.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,144.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,132.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.84 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.47 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.41 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 141.90 เซนต์(กิโลกรัมละ 107.58 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 146.71 เซนต์ (กิโลกรัมละ 112.37 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.28 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.79 บาท)

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,906 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,914 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.39 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,520 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,536 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,013 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  99.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.38  คิดเป็นร้อยละ 2.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 88.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 90.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 104.99 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,700 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 3,600 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.04 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 42.86 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 322 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 313 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 335 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 330 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 368 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 393 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 380 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 338 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 375 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.05 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.98 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.84 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 83.49 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.25 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.41 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 - 29  พฤษภาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.38 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 59.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.69 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 80.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 153.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.72 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.47 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.21 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคาสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.84 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 6.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา